บิ๊กสวอน สเตเดี้ยม สนามเหย้าของสโมสร อัลบิเร็กซ์ นิงาตะ น้องใหม่ เจลีก 2023

กลับมาพบกัน กับซีรี่ส์ สนามเหย้าเจลีก หลังจากที่ฟุตบอลลีกญี่ปุ่น ฤดูกาล 2022 เพิ่งจะปิดตัวลงไป แต่พวกเราก็จะไม่หยุดที่จะ พาเพื่อนๆ มาดูเรื่องราว และความเคลื่อนไหวต่างๆ ของ วงการฟุตบอลญี่ปุ่น ซึ่งวันนี้เป็นคิวของสนาม บิ๊กสวอน สเตเดี้ยม สนามเหย้าของสโมสร อัลบิเร็กซ์ นิงาตะ

บิ๊กสวอน สเตเดี้ยม สนามเหย้าของสโมสร อัลบิเร็กซ์ นิงาตะ

สนามเด็งวะ บิ๊กสวอน สเตเดี้ยม เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ จังหวัดนีงาตะ เมืองใหญ่ของภูมิภาคโทโฮคุ ซึ่งปัจจุบันสนามดังกล่าว เป็นสนามเหย้าของสโมสร อัลบิเร็กซ์ นิงาตะ น้องใหม่ของ เจลีก 2023

โดยสนามแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1997 ก่อนจะถูกเปิดใช้งานครั้งแรก ในเดือน เมษายน 2001 โดยมีชื่อสนามว่า นีงาตะ สเตเดี้ยม ซึ่งมีชื่อเล่นว่า Big Swan ก่อนที่จะได้ Denka บริษัทเคมีชื่อดังของประเทศ มาเป็นสปอนเซอร์หลัก จึงเป็นที่มาของชื่อ Denka Big Swan Stadium ในปัจจุบัน

สนามแห่งนี้ สามารถจุผู้ชมได้ถึง 42,300 คน โดยเคยมีสถิติที่มีผู้ชมสูงสุดถึง 42,233 คน ในเกมที่ อัลบิเร็กซ์ นิงาตะ เจอกับ โอมิยะ อาร์ดิย่า ในเกมนัดปิดฤดูกาลของ เจลีก 2 ฤดูกาล 2003

ซึ่งสนามแห่งนี้ ยังเคยถูกจัดเป็นสนาม ที่ใช้ในมหกรรม ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ในปี 2002 ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพทั้งหมด 3 เกมด้วยกัน ไล่ตั้งแต่

1. รอบแบ่งกลุ่ม ในกลุ่ม E ระหว่าง ไอร์แลนด์ พบกับ แคเมอรูน โดยผลของเกมนัดนี้ ทั้งสองทีมเสมอกันไป 1-1 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2002 โดยมีผู้ชมเข้ามาดู 33,679 คน

2. รอบแบ่งกลุ่ม ในกลุ่ม G ระหว่าง โครเอเชีย พบกับ เม็กซิโก โดยเป็นทัพ จังโก้ ที่สามารถเฉือนเอาชนะไปได้ 1-0 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2002 โดยมีผู้ชมเข้ามาดู 32,239 คน

3. รอบ 16 ทีมสุดท้าย ระหว่าง เดนมาร์ก พบกับ อังกฤษ โดยเกมนี้ทาง สิงโตคำราม สามารถถล่มทาง โคนม ไปได้ถึง 3-0 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2002 โดยมีผู้ชมเข้ามาดู 40,582 คน

การเดินทาง มายัง สนามบิ๊กสวอน

เนื่องจากเมืองนีงาตะ เป็นเมืองทางทิศตะวันตก ของประเทศญี่ปุ่น โดยมีระยะห่างจาก กรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ อยู่ราวๆ 300 กิโลเมตร ดังนั้นการเดินทาง ที่สะดวกที่สุด คงหนีไม่พ้น การเดินทางด้วย รถไฟชินคันเซน

ซึ่งรถไฟสายที่ จะเดินทางไปยังเมืองนีงาตะ จะต้องขึ้นรถไฟสาย Joetsu Shinkansen ที่สถานีโตเกียว โดยหากแฟนบอลท่านใด เดินทางจากประเทศไทย เมื่อลงจากสนามบิน ไม่ว่าจะสนามบินนาริตะ หรือสนามบินฮาเนดะ จำเป็นต้องเดินทางมาที่ Tokyo Station

โดยรถไฟสายดังกล่าว จะมีด้วยกัน 2 ขบวน คือ 1. รถไฟขบวน Toki ตั้งตามชื่อนกช้อนหอยหงอน หรือ นิปโปเนีย นิปปอน นกที่ใกล้สูญพันธ์ ที่ในญี่ปุ่นจะพบได้ในจังหวัดนีงาตะ

ซึ่งรถไฟขบวนดังกล่าว จะเป็นขบวนพิเศษ ที่จะจอดเพียงไม่กี่สถานีเท่านั้น หากใครเดินทาง ด้วยรถขบวนนี้ จะใช้เวลาเดินทาง จากสถานีโตเกียว มาถึงสถานีนีงาตะ เพียงแค่ราวๆ 1.45 ชั่วโมงเท่านั้น

ส่วนอีกขบวนอย่าง Tanigawa จะจอดทุกสถานี ของรถไฟชินคันเซน สายนี้ ทำให้จะใช้เวลาเดินทาง ที่มากกว่า อยู่ที่ราวๆ 2.05 ชั่วโมง ซึ่งก็นานกว่าอีกขบวน เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

ซึ่งจากสถานีนีงานตะ ซึ่งเป็นปลายทาง ของรถไฟสายนี้ สถานีดังกล่าว จะอยู่ห่างจากสนามอยู่ราวๆ 4.3 กิโลเมตร โดยจะมีรถประจำทาของบริษัท Niigata Kotsu สาย S70, S71, S72 จากหน้าสถานีฝั่งใต้ มาจนถึงป้าย Big Swan Mae (ビッグスワン前) ที่อยู่หน้าสนาม เท่านั้นก็เรียบร้อย