ไปรู้จักกับ สนามเหย้า เจลีก 1 2022 มีสนามไหนกันบ้าง

หนึ่งในเสน่ห์ของฟุตบอล นั่นก็คือสนามแข่งขันของแต่ละทีม วันนี้เราจึงมาพาทุกคน ไปรู้จักกับ สนามเหย้า เจลีก 1 2022 ว่าสนามเหย้าของแต่ละทีม มีที่ใดกันบ้าง ซึ่งแฟนๆ ฟุตบอลเจลีก ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ซึ่งพวกเราก็จะมี บทความเกี่ยวกับ วงการฟุตบอลญี่ปุ่น มาฝากเพื่อนๆ เป็นประจำ

สนามเหย้า เจลีก 1 2022

ภูมิภาคฮอกไกโด

1. ฮอกไกโด คอนซาโดล่ ซัปโปโร สนามเหย้าหลักของพวกเขา ได้แก่สนาม ซัปโปโร โดม ในเมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด จุผู้ชมได้ 41,484 คน แต่ในบางนัด จะย้ายไปใช้สนาม ซัปโปโร อัตสึเบตสึ สเตเดี้ยม ที่จุคนได้ 20,861 คน แทนในเกมก็มี

ภูมิภาคคันโต

2. คาชิม่า แอนท์เลอร์ส ใช้สนาม คาชิม่า ซ็อคเกอร์ สเตเดี้ยม ในเมืองของตัวเอง ที่อยู่ในจังหวัดอิบารากิ เป็นรังเหย้า โดยสนามแห่งนี้จุดผู้ชมได้ 40,728 คน ซึ่งเป็นหนึ่งในสนาม ที่ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 อีกด้วย

3. อูราวะ เรด ไดมอนส์ มีสนามเหย้าที่ชื่อว่า ไซตามะ สเตเดี้ยม 2002 ตั้งอยู่ในเมืองไซตามะ จังหวัดไซตามะ ที่อยู่ข้างๆ กรุงโตเกียวนี่เอง โดยสนามแห่งนี้จุผู้ชมได้ 63,700 ที่นั่ง แถมเคยใช้ในการแข่งขันใหญ่ๆ ทั้งฟุตบอลโลก รวมไปถึงโอลิมปิก ครั้งล่าสุด

4. คาชิว่า เรย์โซล ใช้สนาม ซังเคียว ฟรอนเทียร์ คาชิว่า สเตเดี้ยม ในจังหวัดชิบะ ที่อยู่ติดกับกรุงโตเกียว เช่นเดียวกัน โดยสนามแห่งนี้จุผู้ชมได้เพียง 15,900 คน แต่ด้วยตัวที่นั่งของผู้ชม ค่อนข้างติดสนาม ทำให้การเชียร์ในแต่ละครั้ง ค่อนข้างดุดันพอสมควร

5. เอฟซี โตเกียว ทีมจากเมืองหลวง ใช้สนาม อยิโนะโมโตะ สเตเดี้ยม หรือสนาม โตเกียว สเตเดี้ยม เป็นรังเหย้า โดยทีมเลือกใช้สนามนี้เป็นสนามเหย้าแบบถาวร ตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งจุผู้ชมได้ถึง 49,970 ที่นั่ง

6. โยโกฮาม่า เอฟ มารินอส 1 ใน 3 ทีมจากจังหวัดคานางาวะ โดยพวกเขาใช้สนาม นิสสัน สเตเดี้ยม หรือที่รู้จักกันในชื่อ สนามกีฬานานาชาติโยโกฮาม่า ที่จุดผู้ชมได้ถึง 72,327 ที่นั่ง มากที่สุดในเจลีก ซึ่งฟุตบอลโลก 2002 นัดชิงชนะเลิศ ก็แข่งที่สนามแห่งนี้

7. คาวาซากิ ฟรอนตาเล่ อีกหนึ่งทีมจากคานางาวะ เช่นเดียวกัน โดยแชมป์เก่าของเรา ใช้สนาม โทโดโรกิ สเตเดี้ยม ในเมืองคาวาซากิ เป็นสนามเหย้า ซึ่งสนามแห่งนี้จุผู้ชมได้เพียง 26,232 คน แถมยังมีลู่วิ่งอีก จากความสำเร็จในปัจจุบัน ทำให้พวกเขา มีแฟนๆ เหนียวแน่นมากๆ

8. โชนัน เบลมาเร่ ทีมสุดท้ายจากจังหวะคานางาวะ ส่งเข้าประกวด พวกเขาใช้สนาม เลม่อน แก๊ส สเตเดี้ยม ฮิรัตสึกะ ที่จุผู้ชมได้ 18,500 คน เป็นสนามเหย้า ซึ่งสนามนี้ ค่อนข้างออกห่างจากตัวเมือง หากเทียบกับอีกสองทีมแรก

ภูมิภาคคันโต

9. ชิมิสุ เอส-พัลส์ ขยับถัดมาที่จังหวัดชิซูโอกะ โดยทาง ชิมิสุ ใช้สนาม ไอเอไอ สเตเดี้ยม นิฮอนไดระ เป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้ สามารถจุผู้ชมได้ 20,339 คน แม้จะจุคนไม่ได้เยอะ แต่ก็ถือว่าผู้ชมจะได้ใกล้ชิดกับนักเตะ แบบสุดๆ ไปเลย

10. จูบิโล่ อิวาตะ ใช้สนาม ยามาฮ่า สเตเดี้ยม ในเมืองอิวาตะ จังหวัด ชิซูโอกะ เป็นสนามเหย้า โดยสนามของพวกเขา ตั้งชื่อสนามเจ้าของสโมสร อย่างบริษัทยามาฮ่า แถมสนามแห่งนี้เรียกได้ว่า อยู่ในเขตโรงงานของยามาฮ่า เองเลยด้วยซ้ำ

11. นาโกย่า แกรมปัส พิเศษกันซักหน่อย สำหรับทีมนี้ โดยพวกเขามีสนามเหย้า อย่างเป็นทางการถึงสองสนาม ได้แก่สนาม มิซูโฮะ สเตเดี้ยม ที่จุคนดูได้ 27,000 คน รวมไปถึงสนาม โตโยต้า สเตเดี้ยม ที่จุผู้ชมได้ 41,000 คน

ภูมิภาคคันไซ

12. เกียวโต ซังกะ ใช้สนาม ซังกะ สเตเดียม บาย เคียวเซร่า ในเมืองคาเมโอกะ จังหวัดเกียวโต เป็นสนามเหย้าของทีม ซึ่งสนามแห่งนี้สามารถจุคนดูได้ 21,600 คน ที่เพิ่งสร้างเสร็จในปี 2020 นี่เอง ถือว่าเป็นสนามใหม่มากๆ สนามนึงของฟุตบอลญี่ปุ่น

13. กัมบะ โอซาก้า ใช้สนามเหย้า พานาโซนิค สเตเดี้ยม ซูอิตะ ที่อยู่ในเมืองซูอิตะ จังหวะโอซาก้า เป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้เพิ่งสร้างเสร็จแล้วเปิดใช้ในปี 2015 แถมจุผู้คนได้ถึง 39,694 คน ถือว่าเป็นสนาม ที่ทันสมัยมากแห่งนึงเลยเช่นกัน

14. เซเรโซ โอซาก้า เป็นอีกทีม ที่มีสนามเหย้าถึงสองสนาม ได้แก่สนาม ยันมาร์ สเตเดี้ยม ที่จุผู้ชมได้ถึง 47,853 คน รวมไปถึงสนาม ที่เพิ่งถูกปรับปรุงใหม่ อย่าง โยโดโกะ ซากุระ สเตเดี้ยม ที่จุดคนได้ 25,000 ที่นั่ง โดยสนามหลัง ใช้ร่วมกับทีมรักบี้

15. วิสเซล โกเบ มีสนาม นูเวียร์ สเตเดี้ยม โกเบ ที่ครั้งนึงเคยใช้เป็นสังเวียนฟุตบอลโลก 2002 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ โดยสนามแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองโกเบ จังหวัดเฮียวโงะ จุผู้ชมได้ถึง 30,132 ที่นั่ง โดยเปิดใช้ครั้งแรกในปี 2001 ที่เดิมทีจุคนได้ถึง 42,000 คน

ภูมิภาคชูโกกุ

16. ซานเฟรซเซ่ ฮิโรชิม่า ใช้สนาม ฮิโรชิม่า บิ๊ก อาร์ก หรือชื่อตามสปอนเซอร์ว่า เอดิออน สเตเดียม ฮิโรชิม่า ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดฮิโรชิม่า จุผู้ชมได้ 36,894 คน เรียกว่าเป็นสนามนึงเลย ที่เดินทางง่ายมาก หากใครสนใจจะเดินทาง ไปชมฟุตบอลที่นั่น

ภูมิภาคคิวชู

17. อวิสป้า ฟูกูโอกะ 1 ใน 2 ทีมจากเกาะคิวชู โดยพวกเขาใช้สนาม เบสท์ เดงกิ สเตเดี้ยม ในเมืองฮากาตะ จังหวัดฟูกูโอกะ เป็นสนามเหย้า ซึ่งสนามแห่งนี้ สามารถจุดแฟนบอลได้ 21,562 คน ซึ่งสนามนี้ อยู่ติดกับสนามบินฟูกูโอกะ เลยทีเดียว

18. ซางัน โทสุ มีสนาม เอคิเมะ เรียล เอสเตท สเตเดียม ในเมืองโทสุ จังหวัดซากะ เป็นสนามเหย้าของพวกเขา โดยสนามแห่งนี้ใช้ชื่อสนามสปอนเซอร์ โดยสามารถจุคนได้ 24,130 คน ซึ่งเป็นสนามใต้สุดของประเทศ หากดูจากทีมอื่นๆ ในเจลีก ฤดูกาลนี้